Breaking News

Micro fourthird (M4/3) กับการถ่ายดาว ทางช้างเผือก olympus panasonic

Micro fourthird (M4/3) กับการถ่ายดาว ทางช้างเผือก olympus panasonic

Micro four third (M4/3) กับการถ่ายดาว ทางช้างเผือก olympus panasonic

"เตรียมตัวก่อนไปถ่ายดาว"

  • สิ่งสำคัญที่สุดคือสถานที่ ยิ่งมืดยิ่งดี และจะดีขึ้นไปอีกถ้ามีฉากหน้า เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป ต้นไม้ ฯลฯ ภาพจะได้ดูมีเรื่องราวมากขึ้น ไม่ได้มีแค่ฟ้าโล่งๆ
  • รองลงมาคืออุปกรณ์ แนะนำกล้องตั้งแต่รุ่น em5 เป็นต้นมา จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวเรื่อง noise 
  • ส่วนเลนส์แนะนำให้ใช้มุมกว้างครับ ก็ใช้เท่าที่มี หรือมีแต่เลนส์คิท 14-42 ก็ใช้ได้ หรือมีแต่ฟิกส์ 25mm f1.4 ก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องถ่ายแบบพาโนรามา แล้วเอามาต่อกันใน ps 
  • ขาตั้งกล้องควรเป็นขาที่มั่นคง แข็งแรง 
  • ในกรณีที่ถ่ายดาวหมุนโดยใช้ em5 ควรใช้รีโมท ชัตเตอร์ (รุ่นใหม่ๆ มี time lapse มี live com ในตัวไม่ต้องใช้ก็ได้)
  • ส่วนคนก็เตรียมตัวให้พร้อม ยุงเยอะก็ใส่เสื้อแขนยาว ขายาว เตรียมยากันยุงไปด้วย พร้อมทั้งของกินระหว่างรอถ่ายดาว

"วิธีการ setting การถ่ายดาวและทางช้างเผือก"

  1. กางขาตั้งให้มั่นคง ติดเพลทให้แน่น ดูให้ดีว่าพื้นบริเวณนั้นมันแข็งแรงดีหรือไม่
  2. เปิดกล้อง ปิดกันสั่น โฟกัสอินฟินิตี้ (ตั้งเป็น manual focus เปิด magnify แล้วส่องไปยังแหล่งกำเนิดไฟที่อยู่ไกลๆ แล้วหมุนให้เข้า ... จริงๆ มันมีวิธีเซ็ตเลนส์นะ แต่ผมไม่แน่ใจว่าทำไง 55)
  3. ใช้โหมด M ตั้งค่าโดยใช้ rule of 400/600 ถ่ายดาวยังไงไม่ให้ยืด http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx... มันไม่มีสูตรสำหรับเซนเซอร์ x2 เราก็อาศัยของ FF เอามาคำนวณครึ่งหนึ่งก็ได้ครับ ถ้าเป็นเลนส์ระยะ 14mm ผมคำนวณแล้วได้ประมาณ 20 วิ ดาวจะไม่ยืด แต่จริงๆ ผมก็ไม่ค่อยแคร์นะเรื่องดาวยืด เน้นเอาทางช้างเผือกดุๆ 55
  4. iso 1600-3200 ผมว่าค่อนข้างยอมรับได้นะ ยังพอเก็นรายละเอียดได้อยู่ 
  5. รูรับแสงกว้างสุดไปเลยครับ white balance ตั้งเป็น custom ที่ 4000 kelvin เพราะเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับสีสันของทางช้างเผือก
  6. เปิดลด noise ด้วยนะครับ หรือใครจะปิด แล้วเอามาลดทีหลังในคอมก็แล้วแต่ ถ้าถ่ายแบบ pano ผมว่าปิดไปเลย เพราะเสียเวลามาก


พอตั้งค่าเสร็จแล้วก็ลองถ่ายเลยครับ พอได้ภาพแล้วก็ลองพิจารณาดูว่าจะลดจะเพิ่มอะไรก็ตามที่ชอบเลยป.ล. สำหรับคนที่มีเลนส์ช่วงนอมอล หรือเลนส์ฟิกที่ไม่กว้าง ถ่ายแบบพาโนก็ได้ครับ ถ่ายพาโนแนวตั้ง แต่ต้องให้มีพื้นที่เหลื่อมกันสัก 30-40% มันจะได้ต่อกัน แล้วก็ต้องได้องศาด้วยนะครับ ไม่งั้นมันจะบิดๆ เบี้ยว จนเสียไปเลยเหมือนกับรูปนี้ แล้วก็ดูเรื่องตำแหน่ง ทิศทางด้วยนะครับ ว่าจะมีอะไรติดมาในภาพบ้าง บางทีพาโนไปเรื่อยๆ พอเกือบจะเก็บช้างได้ทั้งตัว ก็จะมาเจอกับเพื่อนร่วมทริปติดมาด้วย 55


 "วิธีการ setting ถ่ายดาวหมุน star trail"

อันนี้ก็ไม่มีอะไรมากการตั้งค่าก็คล้ายๆ กับถ่ายทางช้างเผือก
  1. ปิดกันสั่น ใช้โหมด M โฟกัสไปที่ฉากหน้าที่เรา สปีด 30 วิ หรือ 60 วิก็ได้ iso ไม่ต้องเยอะมาก 800-1600 f กว้างสุดก็ได้ หรือจะ 5.6 (พีคสุดของ m4/3) เพื่อความคมชัด wb 4000 kelvin
  2. กรณีที่กล้องไม่มี live com ใช้สายลั่น Hold ค้างเอาไว้แล้วก็ลั่นชัตเตอร์ไปเรื่อยๆ ตอนใช้ epm1 ผมต้องเปลี่ยนเป็นโหมดถ่ายต่อเนื่องด้วยมันถึงจะถ่ายต่อให้ ถ้าถ่ายแบบ single แล้ว hold ที่สายลั่น มันไม่ยอมถ่ายต่อ ไม่รู้ว่ากล้องสมัยนี้เป็นยังไง .... หรือถ้ากล้องมีฟังชั่น time lapse ก็ไม่ต้องใช้สายลั่น ผมก็จำไม่ได้ว่ากล้องรุ่นไหนมี time lapse บ้าง
  3. ถ่ายจนกว่าจะพอใจ แนะนำว่าอย่างน้อย 45 นาที ดาวจะเป็นเส้นกำลังดี หรือถ้าต้องการยาวมากกว่านั้นก็ต่อไปเรื่อยๆ ครับ และถ้าอยากให้ดาวหมุนเป็นวงกลม ให้หันไปทางดาวเหนือ ถ้าดูดาวไม่เป็นก็ดูในแอพดาวต่างๆ ก็ได้ เช่น google sky map 
  4. ในกรณีที่กล้องมี live com ให้ไปที่โหมด M ลองตั้งค่าถ่ายดูก่อน (ถ้าเราใช้ live com รู้สึกว่ามันจะให้ดัน iso ได้ไม่เกิน 1600 นะ) ถ้าโอเคแล้วให้หมุน dial ให้สปีดช้าลงไปเรื่อยๆ จนถึงอันสุดท้ายจะเจอ live com จอมันจะมืดลงเพื่อประหยัดแบต อันนี้ไม่ต้องตกใจ 
  5. จากนั้นกดปุ่ม menu มันจะเข้าไปตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ของ live com เราก็ตั้งตามสปีดชัตเตอร์ที่ลองถ่ายเอาวไว้ในตอนแรก แล้วก็กดถ่าย มันก็จะแสดงให้เราเห็นเรื่อยๆ ว่าดาวยาวแค่ไหนแล้ว เมื่อพอใจก็กดปุ่มชัตเตอร์เพื่อเลิกถ่าย เราก็จะได้รูปดาวหมุนแบบจบในกล้องเลยครับ
  6. ทั้งคนที่ถ่ายแบบ live com และคนที่ถ่ายแบบ time lapse พอถ่ายเสร็จให้เอาฝาเลนส์ปิดกล้องเลยครับ แล้วกดถ่าย 1 ครั้ง เพื่อเอามาทำเป็น dark frame รวมกับภาพดาวที่ได้มา มันจะไปช่วยเกลี่ย noise ให้มันเนียนขึ้นครับ หรือจะไม่ทำก็ได้นะ แล้วแต่ อันนี้เป็นตัวเสริมเฉยๆ
  7. สำหรับคนที่ถ่ายแบบ time lapse ทั้งแบบที่ใช้สายลั่น และฟังชั่น time lapse ในกล้อง ต้องเอามารวมกันก่อนจะใน ps ก็ได้ หรือง่ายๆ ก็โปรแกรม star trails คนที่ถ่าย dark frame ก็เอามารวมด้วยครับ
  8. เย้ เสร็จแล้ว จากนั้นก็ตกแต่งภาพตามใจชอบ ^_^
ป.ล. ผมอธิบายผิดพลาดประการใดก็ขออภัย น้าๆ ท่านใดจะเสริมก็ได้นะครับ ยินดีมากๆ เลยครับ หวังว่าที่ผมอธิบายน้าๆ จะเข้าใจกันน



สำหรับกล้องที่มี live composite ฟังชั่นนี้มันก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันนะครับ คือ เวลาถ่ายถ้ามันมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามา เช่นอย่างรูปนี้ มีไฟรถโผล่เข้ามา มันก็จะอยู่ในภาพนี้เลย วิธีแก้ก็คือถ้าเห็นรถวิ่งมาให้เอาฝาปิดเลนส์ไว้แปบนึง พอรถหายไปค่อยเปิดฝา หรือจะให้ดีตอนเลือกทำเลถ่ายต้องแน่ใจว่าจะไม่มีรถโผล่มา กับอีกเรื่องหนึ่งก็คือถ้าเกิดมีดาวตก เราจะไม่สามารถดึงเฟรมนั้นออกมาได้ เพราะกล้องมันจะจับรวมกันเป็นภาพเดียว


สำหรับ m4/3 โอลี่ ที่เวิคก็คือ em1 , em5 mark I , em5 mark II , em10 , ep5 , epl5 , epl6 และ epl7 พานาโซนิค ผมแนะนำว่าควรเป็น GX7 GH3 GH4 GM1 GM5 น่าจะมีห้าตัวนี้ที่ถ่ายได้อยู่ พวก G6 G5 GX1 อาจจะไม่ได้ดั่งใจสักเท่าไร
ขออนุญาติเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ ที่นำมาเผยแพร่ เพราะบางคนโดนเตะออกจากลุ่ม OLYMPUS Club Thailand แล้วจะไม่สามารถเข้ามาอ่านได้ครับ
ที่มา :: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=976150469076366&set=gm.899061196819822&type=1&theater
เจ้าของโพส :: https://www.facebook.com/chadon.nakmai

ไม่มีความคิดเห็น